ช่วงย้ายถิ่น

การ อพยพย้ายถิ่นของนกเป็นวงจรชีวิตที่สำคัญในการดำรงชีวิตอยู่ท่ามกลางความ เปลี่ยนแปลง ของฤดูกาลเนื่องจากนกต้องการอาหารสำหรับเลี้ยงชีพและมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะ สมในการดำรงชีวิตตลอดทั้งปี นกที่อาศัยอยู่ในประเทศเขตร้อนมักไม่ต้องย้ายถิ่น เนื่องจากสภาพแวดล้อมไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก และมีอาหารการกินตลอดทั้งปี ซึ่งตรงข้ามกับนกในแถบเหนือของโลก ที่มีอากาศหนาวเย็นมากในช่วงฤดูหนาวแหล่งอาหารถูกปกคลุมด้วยหิมะจนทำให้ อาหารหายาก นกส่วนใหญ่จึงต้องบินย้ายถิ่นเพื่อความอยู่รอดไปยังแหล่งที่มีอาหารอุดม สมบูรณ์กว่า โดยบินลงใต้มาหากินและอาศัยอยู่ทางเขตร้อน ที่มีอาหารและอากาศอบอุ่นกว่าตลอดช่วงฤดูหนาว ก่อนจะบินอพยพกลับไปยังถิ่นเดิมเพื่อสร้างรังวางไข่อีกครั้งเมื่อฤดูหนาว ผ่านพ้นไป หมุนเวียนเช่นนี้ทุกปี
แม้ นกอพยพส่วนใหญ่จะบินย้ายถิ่นมาจากแถบตอนเหนือของโลก เช่น ยุโรปหรือไซบีเรีย แต่นกบางชนิดในเขตร้อนก็มีการอพยพเหมือนกัน เช่น นกยางดำ นกแต้วแล้วธรรมดา บินมาวางไข่ในประเทศไทยช่วงฤดูฝน เพื่อหนีจากลมมรสุมในประเทศแถบเส้นศูนย์สูตร และจะบินกลับไปเมื่อถึงฤดูหนาว ส่วนนกปากห่างอพยพเข้ามาทำรังวางไข่ในประเทศช่วงหน้าแล้ง และบินกลับไปบังคลาเทศและอินเดียเมื่อเข้าสู่ฤดูฝน
อุณหภูมิ ที่ค่อยๆ ลดต่ำ เวลากลางวันที่สั้นกว่ากลางคืน เป็นสิ่งกระตุ้นให้นกเริ่มเตรียมตัวเพื่อการอพยพย้ายถิ่น นกจะกินอาหารเพื่อสะสมพลังงานให้เต็มที่ และเมื่อผลัดขนชุดใหม่สมบูรณ์พร้อมสำหรับการบินทางไกล นกจึงเริ่มอพยพย้ายถิ่น นกในอเมริกาเหนือจะบินสู่อเมริกาใต้ นกทางฝั่งยุโรปจะบินลงสู่แอฟริกา นกที่อาศัยอยู่ทางเหนือของยุโรปและเอเชียจะบินลงสู่เอเชียใต้ มีบางกลุ่มบินไปจนถึงออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ นกชายเลนในเอเชียส่วนใหญ่ทำรังวางไข่ทางเขตทุนตราในไซบีเรีย มองโกเลียและตอนเหนือสุดของประเทศจีน เมื่อหมดฤดูผสมพันธุ์จะพากันอพยพย้ายถิ่นลงมาทางตอนใต้ เพื่อมาอาศัยหากินในเอเชียตอนล่าง เลยไปจนถึงออสเตรเลียและนิวซีแลนด์

1 ความคิดเห็น:

  1. ช่างเป็นภาพที่สวยงาม!
    ถ้าคุณต้องการดูรูปนกเพิ่มเติมฉันแบ่งปันบล็อกของฉัน

    https://avesdecordobayargentina.blogspot.com

    ตอบลบ